เมนู

หลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่
ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้ง
หลาย พึงชักชวนชักนำให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านั้น.
จบมิตตสูตรที่ 8

9. เวทนาสูตร



เจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ เวทนา 3



[835] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้ 3 ประการเป็น
ไฉน คือ สุขเวทนา 1 ทุกขเวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เวทนา 3 ประการนี้แล.
[836] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3 ประการนี้ สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ เพื่อกำหนดรู้เวทนา
3 ประการนี้แล.
จบเวทนาสูตรที่ 9

10. อาสวสูตร



เจริญสติปัฏฐานเพื่อละ อาสวะ 3


[837] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน คือ กามาสวะ 1 ภวาสวะ 1 อวิชชาสวะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ 3 ประการนี้แล.
[838] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อละอาสวะ 3 ประการนี้ สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน 4
เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ 3 ประการนี้แล.
จบอาสวสูตรที่ 10
จบอมตวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อมตสูตร 2. สมุทยสูตร 3. มรรคสูตร 4.สติสูตร 5.
กุสลราสิสูตร 6. ปาฏิโมกขสูตร 7. ทุจริตสูตร 8. มิตตสูตร 9.
เวทนาสูตร 10. อาสวสูตร